วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สืบสานประเพณีไทย วันลอยกระทง ๒๕๕๖
สถานพินิจฯ จังหวัดจันทบุรี
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

         กิจกรรมสืบสานประเพณีวันลอยกระทง ๒๕๕๖ โดยเด็กและเยาวชนจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี ตราด และสระแก้ว ที่อยู่ในการควบคุม ดูแล ของสถานแรกรับเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเข้าสู่กระบวนการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู  ได้มีโอกาสแสดงออก สำนึกในฐานะเยาวชนคนไทย ที่ได้เข้าร่วมประเพณี วัฒนธรรม ลอยกระทงที่ดีงามของไทยแต่โบราณ


      

        วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน เกิดการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณีอันดีงามของไทย มีโอกาสในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ส่วนรวม เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์กระทง เข้าร่วมกิจกรรม การแสดงออกอย่างเหมาะสมตามโอกาส และเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย



          กิจกรรมดำเนินการ ได้แก่ การประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ เข้าร่วมประกวด ด้านความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์  กิจกรรมแสดงความสามารถการประกวดนาย/นางนพมาศ เพื่อรับรางวัลจากคณะผู้ดำเนินโครงการ และกิจกรรมลอยกระทง


ผู้ประสานงานโครงาน       นางเพิ่มสุข ยนตร์ภักดิ์   ช่างตัดผม
                                   นายวุฒิชัย ล้อมทอง     นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ



วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 "จันทบุรีเมืองแห่งความสุข (สดชื่น สะอาด สวยสดใส)"
 
 
          เด็กและเยาวชน / เจ้าหน้าที่ นำโดยผู้อำนวยการสถานพินิจฯ จังหวัดจันทบุรี นางสุปรียา จรัสไพบูลย์ ร่วมกันดำเนินการนโยบายจังหวัดจันทบุรี ตามโครงการ "จันทบุรีเมืองแห่งความสุข (สดชื่น สะอาด สวยสดใส)" วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี


 
        วัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ที่ทรงมีพระชนมายุ ครบ ๘๖ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖
           เพื่อให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่  เด็กและเยาวชนได้แสดงพลังร่วมมือร่วมใจกันรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย และกระตุ้นเสริมสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอาคาร สถานที่ของหน่วยงานราชการ โดยใช้หลัก ๕ ส.
 

 
 


 

 
 

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556


โครงการ เตรียมความพร้อมก่อนปล่อยเด็กและเยาวชน ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖
 
 
หลักการและเหตุผล

         เด็กและเยาวชนถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเป็นอย่างสูงในการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืน จะเห็นได้ว่าจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงหลังที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก เพราะการสร้างเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ ย่อมส่งผลถึงการเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และมีคุณภาพในอนาคต ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีภารกิจในการดูแลและให้การบำบัดฟื้นฟูเบื้องต้น แก่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างรอการพิจารณาคดี เด็กและเยาวชนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแล ให้กำลังใจ และให้การบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเบื้องต้น

                                                                    


              แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลานี้ นับเป็นช่วงที่สำคัญ และเป็นเหมือนจุดเปลี่ยนชีวิตของเด็กและเยาวชน กล่าวคือ ภายหลังศาลมีคำพิพากษา เด็กและเยาวชนบางรายอาจจะได้รับการปล่อยตัวและกลับไปอยู่กับครอบครัว หรืออาจปล่อยตัวแบบมีเงื่อนไขคุมประพฤติ หรืออาจเข้ารับการฝึกอบรมตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด เด็กและเยาวชนเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด เด็กและเยาวชนเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าศาลจะมีแนวทางพิจารณาอย่างไรบ้าง เพื่อเตรียมใจตนเองให้สามารถยอมรับได้กับผลการตัดสินของศาลที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็จะต้องร่วมรับทราบเช่นกันว่าศาลจะพิจารณาออกมาในรูปแบบใดบ้าง เพื่อเตรียมตัวเตรียมใจของตนเอง และกำหนดวิธีการปฏิบัติของตนเอง ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับบุตรหลานและชีวิตของตนเอง จะมีแนวทางที่จะปฏิบัติกับบุตรหลานของตนเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของให้เป็นไปตามวัยแล้ว ยังเป็นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ รวมถึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบถึงแหล่งทรัพยากรที่จะสามารถไปขอรับบริการได้ การเตรียมความพร้อมเด็กและเยาวชนก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาตัดสิน จึงจำเป็นต้องให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมกับบิดา มารดา และผู้ปกครอง เพื่อการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม

 
 
 
วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการ และสามารถปรับตัว ปรับจิตใจ พร้อมที่จะกลับคืนสู่ครอบครัว

๒. เพื่อให้ผู้ปกครอง บิดามารดา และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนเตรียมความพร้อมในการรับเด็กและเยาวชนกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชน ทั้งในด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ การติดตามดูแลด้านพฤติกรรม

๓. เพื่อให้เด็ก เยาวชน และครอบครัวได้รับทราบถึงแหล่งทรัพยากรที่จะสามารถไปขอรับบริการได้

๔. เพื่อให้เด็กและเยาวชนและครอบครัวได้รับการสงเคราะห์ดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดการควบคุมตัวของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี และมีการติดตามดูแลต่อไป
 
 
 
 
 
 

กิจกรรมดำเนินการ
 
- พิธีเปิดโครงการ โดย ท่านผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี
 
- กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา และแนวทางในการตัดสินพิจารณาคดีของศาลฯ
 
-กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ การเตรียมตัวขึ้นศาล การให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก/เยาวชนและครอบครัว ความรู้เบื้องต้นของการเตรียมตัวเข้ารับกาฝึกอบรม การลบประวัติอาชญากรรม แนะนำหน่วยงานที่ให้บริการทางสังคมสงเคราะห์ภายหลังได้รับการปล่อยตัว และการวางแผนอนาคต                  


- กิจกรรมการสื่อสารภายในครอบครัวและการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ

- การแนะแนวการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
โดย วิทยากรจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

- กิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพการทำตุ๊กตาการบูร โดย วิทยากรจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 ๑. เด็ก/เยาวชนและผู้ปกครองคลายความวิตกกังวล และมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น

 ๒. เด็ก/เยาวชนและผู้ปกครองได้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติตนก่อนการพิจารณาคดีและการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล
๓. เด็ก/เยาวชนได้สำรวจตนเองในด้านพฤติกรรมความคิด ทัศนคติ เป้าหมายชีวิต และร่วมวางแผนการชีวิตของตนเองร่วมกับผู้ปกครองและครอบครัว

๔. เด็ก/เยาวชนและผู้ปกครองได้ทราบถึงแหล่งทรัพยากรในการขอรับการสงเคราะห์ช่วยเหลือ

๕. ครอบครัวได้รับทราบแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับการับตัวเด็กและเยาวชนคืนกลับสู่ครอบครัว

 
 



หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 หน่วยงานที่รับผิดชอบ                    สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี

 เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ      นางสาวธนวรรณ จูห้อง    นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556


โครงการวันขึ้นปีใหม่และวันเด็กแห่งชาติ ๒๕๕๖
 
          วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคมของทุกปี มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีจากนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ตามคำเชิญชวนของนายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิ์ภาพระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเองในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมเตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตนเอง เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
 


วัตถุประสงค์

          ๒.๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชน รู้หน้าที่ของตน และอยู่ในระเบียบวินัยที่ดี

          ๒.๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

          ๒.๓. เพื่อเป็นกิจกรรมส่งเสริมการแสดงออกของเด็กและเยาวชน

          ๒.๔. เพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐที่ต้องการให้เป็นวันที่สำคัญของเด็กและเยาวชน

กิจกรรม

         - พิธีเปิดโครงการโดยท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว  ท่านวีระวัฒน์ สีหานาม
         - พิธีจับฉลากของขวัญแก่เด็กและเยาวชน
         - การเล่นเกม กีฬา รับของรางวัล
         - เลี้ยงอาหาร เด็กและเยาวชน โดยกรรมการสงเคราะห์จังหวัดตราด

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โครงการพัฒนา/คัดเลือกเยาวชนดีเด่นประจำเดือน
หลักการและเหตุผล

        สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวระหว่างรอคำพิพากษาของศาล  ซึ่งปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น ๖๐ คน  การบำบัดแก้ไขเด็กและเยาวชนให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ดีขึ้น  มีวิธีการที่หลากหลาย  การนำแผนพัฒนาการบำบัดแก้ไขเด็กและเยาวชนด้วยวิธีการสร้างแรงจูงใจ  โดยการยกย่องชมเชย ให้รางวัล เป็นการกระตุ้นความสนใจให้แก่เด็กและเยาวชนเรื่องการเรียนรู้  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ทั้งยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาการความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย  ช่วยสร้างพื้นฐานให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป


วัตถุประสงค์

๑.  สร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ และมีผลงานที่ดี  มีการพัฒนางานมากขึ้นจะได้รับรางวัลตอบแทน 

๒. วางแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรับผิดชอบและการทำงานเป็นทีมกิจกรรม

 

กิจกรรม

๑. เสนอแผนโครงการ/แผนพัฒนา

๒. ประชุมทีมงาน วางแผนดำเนินงาน

     -กำหนดขอบเขต  พื้นที่ความรับผิดชอบ แบบประเมินผล  วันประชุมคณะกรรมการ

 ๓. ตรวจสอบประเมินผลงานเดือนละ ครั้ง / สรุปผลการคัดเลือกทีมงานดีเด่น

 ๔. มอบเกียรติบัตรทีมเด็กและเยาวชนที่ชนะการคัดเลือกประจำเดือน/บอร์ดประกาศความดี/มอบรางวัล

                                    ทีมชนะเลิศประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ และเดือนกันยายน ๒๕๕๔

  การแบ่งทีมเด็กและเยาวชนเพื่อรับผิดชอบงานในหน้าที่ แบ่งเป็น  ๖ กลุ่มงานที่ได้รับมอบหมายจากพ่อบ้าน

๑. งานห้องซักผ้า 

๒.โรงเลี้ยง

๓.โรงครัว 

๔.หอนอน 

๕.ลานกีฬา/ห้องน้ำ

๖.ลานธรรมะ



 

 


วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยเด็กและเยาวชน
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔

             กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดำเนินงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดและถูกจับกุมดำเนินคดี โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดให้ได้รับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ทั้งในกรณีควบคุมตัวหรือไม่ควบคุมตัว ก่อนศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาความเห็นของพฤติการณ์การกระทำผิด ทั้งสภาพครอบครัวและสิ่งแวดล้อม ซึ่งระหว่างที่เด็กและเยาวชนจะได้รับคำตัดสินพิพากษาจากศาลนั้น จะผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การปฐมนิเทศ การจำแนกประเภท การวางแผนบำบัดฟื้นฟูรายบุคคล การจัดให้ได้รับการศึกษาสายสามัญและวิชาชีพ กิจกรรมบำบัดฟื้นฟู กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมนอกหลักสูตรอื่นๆ เป็นการช่วยขัดเกลาและบำบัดแก้ไขเด็กและเยาวชนให้ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น ทั้งในด้านทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรม โดยให้เยาวชนได้ตระหนักในความผิดและไม่กลับไปกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่อไป ที่ผ่านมากรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้ให้ความสำคัญต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน โดยกำหนดให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนครบกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มรับตัวเด็กและเยาวชนเข้ามาดูแล และสุดท้ายต้องให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชน ในการเตรียมความพร้อมของสภาพจิตใจ การปรับตัวที่จะกลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชน มีแนวทางศึกษาต่อหรือมีงานทำ มีที่พักพิง มีผู้อุปการะเลี้ยงดู ตลอดจนได้รับการแก้ไขปัญหาครอบครัวและด้านอื่นๆ โดยได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและสงเคราะห์เมื่อประสบปัญหาความเดือดร้อน ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตได้โดยปกติสุขเมื่อได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว




          สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี โดยงานสังคมสงเคราะห์ จึงเห็นความสำคัญของกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างความพร้อมให้แก่เด็กและเยาวชน ครอบครัว และชุมชน ได้มีความประสงค์ดำเนินการจัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยเด็กและเยาวชน ซึ่งมีกิจกรรมดำเนินการเพื่อให้บริการแก่เด็กและเยาวชน ในการแก้ไขและป้องกันปัญหา โดยเฉพาะการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ทำให้เด็กและเยาวชนได้กลับคืนสู่ชุมชน สังคมภายนอก และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมต่อไปอย่างมีความสุข



วัตถุประสงค์
๑.  เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการ
๒. เพื่อให้ผู้ปกครอง บิดา-มารดา และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนเตรียมความพร้อมในการรับเด็กและเยาวชนกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชน
๓. เพื่อเด็กและเยาวชนและครอบครัว มีแผนการอนาคตร่วมกันโดยสามารถระบุได้อย่างชัดเจนแน่นอนในด้านสถานที่ที่เด็กและเยาวชนกลับไปอยู่ การศึกษา การประกอบอาชีพ การติดตามดูแลด้านพฤติกรรม
๔. เพื่อให้เด็กและเยาวชนและครอบครัวได้รับการสงเคราะห์ดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดการควบคุมตัวของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี และมีการติดตามดูแลต่อไป

คณะวิทยากรที่มาให้ความรู้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กและเยาวชนมีแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการเมื่อได้รับการปล่อยตัว
ผู้ประสานโครงการ
๑.  นายชูชาติ             สีเขียว            นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
๒.  นางสาวสุจิตรา        ชุ่มมงคล        นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ



คณะทำงาน